หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐาน

หมู่บ้านวังกุ่มได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำรงชีวิตและพึ่งตนเองได้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ผัก   มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ หลากหลายกลุ่ม โดยคนในหมู่บ้านมีการร่วมกันเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่าง ๆ  ได้แก่   กลุ่มออมเงินสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต    กองทุนหมู่บ้าน   กลุ่มอาชีพแม่บ้าน    กลุ่มเกษตรกร   และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจาก อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บ้านวังกุ่ม  ยังมีกิจกรรมที่สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่น  การปลูกพืชผักสวนครัว     การเพาะเห็ดฟาง  การปลูกผัก    การเลี้ยงปลา  การเลี้ยงเป็ดไข่  ห่าน  กระต่าย   สำหรับบริโภคหรือ นำไปขาย   การทำจักสาน   น้ำพริก   ปุ๋ยหมักชีวภาพ   และยังมีการปลูกต้นไม้ตามลำคลองน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

นอกจากนี้หมู่บ้านวังกุ่ม   ยังมีครัวเรือนที่ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง   เพื่อเป็นครัวเรือนตัวอย่างที่ได้นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและยังได้ให้เป็นจุดแลกเปลี่ยนรู้ให้กับชุมชนซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของคนในหมู่บ้านที่จะมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและปฏิบัติจริง

 1)ด้านการลดรายจ่าย โดยการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผัก    ผลไม้ไว้บริโภค   และมีเหลือจะนำไปขาย    หรือแปรรูปบริโภคและจำหน่าย  และมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ   น้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง   เพื่อเป็นลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข   และมีการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

2)ด้านการเพิ่มรายได้   มีการส่งเสริมครัวเรือนให้ประกอบอาชีพเสริม    เช่น   ทำนาและทำไร่ผัก    มีการรวมกลุ่มมีการส่งเสริมให้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านและนำเงินไปสนับสนุนในการทำอาชีพเสริมต่าง ๆ ให้แก่หมู่บ้าน หรือส่งเสริมอาชีพในครัวเรือน  เช่น     กลุ่มสตรีโต๊ะจีน   กลุ่มปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มทำน้ำพริก   การปลูกผักในครัวเรือน/จำหน่าย  และมีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรใช้พันธ์ข้าว และเมล็ดพันธ์ที่ดี

 3)ด้านการประหยัด     ส่งเสริมให้มีการออมเงินสัจจะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการทำปุ๋ย  ยา เพื่อการประกอบ อาชีพการเกษตรและใช้ในครอบครัว มีการรณรงค์ ลด ละเลิก อบายมุข  ส่งเสริมครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว เป็ดไข่  ไก่   เลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ    ไว้บริโภคเองและจำหน่าย

การส่งเสริมอาชีพที่ตอบสนองตามความต้องการของชุมชน
1)กลุ่มเกษตรกรรม     นางทองเปลว             ชูวงษ์     เป็นประธาน    หมายเลขโทรศัพท์ 081 – 4758909     สมาชิก  32  คน   ปัจจุบันมีเงินทุน  110,000    บาท

2) กองทุนปุ๋ย     นางทองเปลว       ชูวงษ์  เป็นประธาน    หมายเลขโทรศัพท์ 081 – 4758909  สมาชิก 32  คน ปัจจุบันมีเงินทุน  100,000  บาท

3)กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ   สมาชิก  30  คน        ปัจจุบันมีเงินทุน  10,000  บาท    ประธาน  ชื่อ  นาทองเปลว       ชูวงษ์

บ้านวังกุ่มได้รับการคัดเลือกหมู่บ้านของอำเภอบางระกำ ส่งเข้าคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยุู่เย็นเป็นสุขและกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นปี 2553

ศอช.ต. ตำบลบางระกำ ร่วมกิจกรรมประกวดหมู่บ้าน

หมู่บ้านได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำรงชีวิต 

  1. ด้านการลดรายจ่าย โดยการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผัก ผลไม้ไว้บริโภค และมีเหลือจะนำไปขาย หรือแปรรูปไว้บริโภคและจำหน่าย  และมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ   น้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง   เพื่อเป็นลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข  และมีการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  2. ด้านการเพิ่มรายได้   มีการส่งเสริมครัวเรือนให้ประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำนาและทำไร่ผัก  มีการรวมกลุ่มมีการส่งเสริมให้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านและนำเงินไปสนับสนุนในการทำอาชีพเสริมต่าง ๆ ให้แก่หมู่บ้าน หรือส่งเสริมอาชีพในครัวเรือน  เช่น     กลุ่มสตรีโต๊ะจีน   กลุ่มปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มทำน้ำพริก   การปลูกผักในครัวเรือน/จำหน่าย  และมีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรใช้พันธ์ข้าว และเมล็ดพันธ์ที่ดี
  3. ด้านการประหยัด     ส่งเสริมให้มีการออมเงินสัจจะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการทำปุ๋ย  ยา เพื่อการประกอบ อาชีพการเกษตรและใช้ในครอบครัว มีการรณรงค์ ลด ละเลิก อบายมุข  ส่งเสริมครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว เป็ดไข่  ไก่   เลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ    ไว้บริโภคเองและจำหน่าย
  4. ด้านการเรียนรู้    มีแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้ในด้านการประกอบอาชีพ   ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการเงินทุน ด้านการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ   การทำไร่ผัก  พริก  มะพร้าว  มะนาว  ถั่วฝักยาว   แตงร้าน  ซึ่งคนในชุมชนสามารถเรียนรู้  ปฏิบัติและนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีการเข้าอบรมตามที่หน่วยงานจัด และได้ไปศึกษาดูงานกลุ่มอื่นที่แตกต่าง หรือเหมือนกับหมู่บ้านตน เพื่อนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาดูงานจากหมู่บ้านอื่น อำเภอและจังหวัดอื่น ดังนั้นจึงได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
  5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  ชุมชนส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกต้นไม้ทดแทนที่ได้ใช้ไป เช่น  ต้นไผ่  ไม้ผล   มีการปลูกต้นไม้ริมสันเขื่อน  ริมคลองตลอดแนว และให้ประชาชนช่วยกันดูแลต้นน้ำและลำธาร เพื่อเป็นการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ  ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมี  ลดการใช้สารเคมี  และรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอยของแต่ละครอบครัว
  6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน ได้จัดสวัสดิการจากกองทุน/กลุ่ม ต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน   เพื่อเป็นการช่วยเหลือดูแล ผู้ด้อยโอกาส  ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีความสุขโดยให้ลูกหลานได้ร่วมกิจกรรมพร้อม ๆ กัน  เช่น การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ทุกปี  การทำบุญกลางบ้านทุกปี เพื่อการพัฒนาจิตใจแต่ประชากรในพื้นที่ก็จะไปทำบุญกันอย่างสม่ำเสมอที่วัดสุนทรประดิษฐ์

ครอบครัวตัวอย่างด้านเศรษฐกิจแบบพอเพียง
1.       ครอบครัวนายสมปอง     พงษ์ศักดิ์ศรี      บ้านเลขที่  6   หมู่ที่   15  บ้านวังกุ่ม   ตำบลบางระกำ       สมาชิกในครอบครัว    8  คน
กิจกรรมในครอบครัว
1.  การปลูกพืชผักสวนครัว เช่น มะเขือ ชะอม บวบ ผักหวาน
2. การเลี้ยงปลา
3. การทำปุ๋ยหมัก
4. การเพาะกล้าไม้จำหน่าย
5. การปลูกหญ้าแฝกกันดินผัง
2.       ครอบครัวนายแดง       มีเม่น     บ้านเลขที่  2      หมู่ที่   15    บ้านวังกุ่ม    ตำบลบางระกำ  สมาชิกในครอบครัว  7   คน
กิจกรรมในครอบครัว
1. ทำน้ำปลา
2. ปลาร้า
3. การปลูกพืชผักสวนครัว

3.  ครอบครัวนางวันนา      อ้นเนียม   บ้านเลขที่  19    หมู่ที่  15   บ้านวังกุ่ม     ตำบลบางระกำ     สมาชิกใน ครอบครัว    3     คน
กิจกรรมในครอบครัว

  1. การเพาะเห็ดฟาง
  2. การปลูกพืชผักสวนครัว
  3. การเลี้ยงปลาในบ่อ

4.       ครอบครัวนายสังวาล      แซ่ลอ  บ้านเลขที่   6/1    หมู่ที่   15   บ้านวังกุ่ม    ตำบลบางระกำ สมาชิกในครอบครัว   5     คน

กิจกรรมในครอบครัว

  1. การเลี้ยงปลาในบ่อดิน
  2. การปลูกพืชผักสวนครัว
  3. การทำนา


การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน

 

 

 

    แนวคิด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม

                              

     คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้นหากแปลเป็นอังกฤษจะได้ว่า Sufficiency Economy ซึ่งเป็นพระราชดำรัสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยไว้เมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว อาจเรียกว่า เป็นทฤษฏีใหม่ก็ได้เพราะว่าเกิดจากแนวดำริที่พระองค์เป็นคนคิดค้นขึ้นมา เหตุที่เรียกว่า ทฤษฏีใหม่ก็เพราะว่า คำว่า“เศรษฐกิจพอเพียง”นั้น ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรมมาก่อน พระองค์ทรงคิดขึ้นมาด้วยพระองค์เอง นับได้ว่าเป็นความอัจริยะภาพของพระองค์อย่างยิ่ง ทำให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ในฐานะ“กษัตริย์นักปฏิรูป” หากจะกล่าวถึงคำว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั้น เราอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเป็นเรื่องของเศรษฐกิจน้อย ใหญ่ เป็นเรื่องเชย เป็นเรื่องของชาวนา ชาวสวน แต่ผู้เขียนก็พึ่งจะเข้าใจนี่เองว่า เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนให้เราจน หรือว่า สอนให้เรามีเท่าไหร่ก็พอแค่นั้น ไม่หามาเพิ่ม ไม่ขวนขวายอีก อั้นนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ ปรัชญานี้สอนให้เรา เดินอยู่บนความพอดี อย่างเช่น ถ้าหากว่าเราเป็นคนจนมากๆ อยู่มาวันหนึ่ง มีคนพาเราไปกินอาหารภัตตาคารที่แพงที่สุดในโลก ได้กินอาหารรสเลิศ ..ถ้าเราเห็นแก่กินเกินไป คือ มีเท่าไหร่ก็กินให้หมด เอาให้คุ้ม พอกินไปกินมาลืมไปว่า กระเพาะเราก็มีความจุจำกัดเหมือนกัน กินซะจนกระเพาะแตกและตายในที่สุด …แต่หากว่า เราไม่โลภ รู้จักความพอดี เราก็จะกินแต่เพียงว่าอร่อย พออิ่มท้อง พอใจในอัตภาพที่กำลังเป็นอยู่ เราก็จะมีความสุขได้ ต่อมาก็ตรากตรำทำงานหาเงินเก็บ เอาไปลงทุนในทางที่สุจริต ซักวันเราก็รวยได้เหมือนกัน ..แต่ถ้าวันนั้นเรากินจนท้องแตกตายเสียก่อน เราก็ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่มีโอกาสที่จะยกระดับครอบครัวอีกแล้ว

 

   
คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมกัน คือ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป
                                         โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการ
                                         ผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความ
                                                  พอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมี
                                                  เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุ
                                                  ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผล
                                                  ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นจากการกระทำ
                                                  นั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
                                                 และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะ
                                                 เกิดขึ้นได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่
                                                 คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และ
                                                 ไกล
การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน      
               การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันของนางสาว เกสร  จุติลาภถาวร  คือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ใช้จ่ายในเรื่องที่เห็นว่าไม่จำเป็น  มีการจัดสรรค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน  แบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน รวมถึงนำเงินที่เหลือที่ได้จากค่าขนมและค่าใช้จ่ายในแต่ละวันมาออมไว้ทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องรบกวนเงินของบิดามารดา  อีกประการหนึ่งข้าพเจ้าจะใช้สิ่งของทุกชิ้นอย่างรู้คุณค่า โดยมีการคิดคำนวณก่อนที่จะซื้อของสิ่งๆหนึ่งว่าสิ่งของนั้นๆสามารถใช้ได้นานแค่ไหน คุ้มหรือไม่?กับการซื้อในแต่ละครั้ง การกระทำนี้นอกจากจะได้ของใช้ที่มีประสิทธิภาพแล้วยังเป็นการประหยัดเงินและตรงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพ่อหลวงของเราอีกด้วย

เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

มาตรฐาน
เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

           แนวทางสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 มีแนวโน้มว่าจะนำไปใช้ต่อในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 มีประเด็นสำคัญ 3 เรื่องคือ 1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) ชุมชนเข้มแข็ง และ 3) เกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จะต้องนำประเด็นสำคัญทั้ง 3 นี้มาประยุกต์ใช้กับชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 อีกทั้งยังจะช่วยให้ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ลดปัญหาทางสังคมเช่น ปัญหาการลักขโมยของผู้อื่น ฉกชิงวิ่งราว ปัญหาด้านอาชญากรรม เป็นต้น แนวคิดที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงในชุมชนได้โดยอาศัยประเด็นสำคัญทั้ง 3 ประเด็นมีดังนี้

1.เศรษฐกิจพอเพียง                                                                                                                                                                                                                                        เศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายชัดเจนคือ การพึ่งตนเองได้ ในระดับที่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic minimum need) เป็นอย่างน้อย ส่วนวิธีการก็คือการใช้หลักทางสายกลางในแง่ความสัมพันธ์กับมนุษย์โดยจะต้องไม่ ละโมบ   เอาเปรียบผู้อื่น และในแง่ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ก็จะต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง เสื่อมโทรม เสียหายและเกิดมลพิษ
แต่ในความเป็นจริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียงไม่สามารถรับใช้และตอบสนองระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรียุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันได้ เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันด้านวัตถุและการบริโภคอย่างไม่รู้จักพออย่างไม่รู้จักพอ

         2) ชุมชนเข้มแข็ง
การจะเกิดชุมชนเข้มแข็งได้ ต้องมีกระบวนการประชาคมที่อยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมชุมชน นั้นๆ มิใช่เป็นการผลักดันจากฝ่ายราชการ หรือนักวิชาการ การพยายามจัดเวทีประชาคมเพียงชั่วครั้งชั่วคราวไม่อาจเกิดกระบวนการประชาคมที่ต่อเนื่องจริงจัง เพราะเป็นเพียงพิธีกรรมไม่ต่างกับการทอดกฐิน ผ้าป่า เมื่อเสร็จพิธีแล้วต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับไปอยู่บ้านตัวเองแบบ “ตัวใครตัวมัน” ที่สำคัญกระบวนการประชาคมจะต้องมีสมาชิกของชุมชนที่มีลักษณะเป็น “พลเมือง” (Civility) กล่าวคือ 1) มีความเป็นคนดีมีศีลธรรม (ศีลเด่น) 2) มีความสามารถพึ่งตนเองได้ (เป็นงาน) และ 3) มีสติปัญญารู้จักแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญและคิดอ่านปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมไม่หยุดความรู้กับที่ (ชาญวิชา)
แต่ปัญหาของสังคมไทย คือ สมาชิกของชุมชนส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นเพียง“ราษฎร” (Population) กล่าวคือ ยังขาดคุณสมบัติ 3 อย่างข้างต้น ดังจะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ ขาดศีลธรรม ไม่มีแม้แต่ศีลห้า มุ่งแต่รอรัฐบาลและราชการช่วยเหลือขาด ความคิดพึ่งตนเอง ตลอดจนไม่ศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจไม่คิดแก้ไขปัญหา อยู่ไปวัน ๆ ไม่ฝึกฝนตนเอง คุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่สามารถเรียกว่า เป็นประชาคมได้ เป็นได้เพียง “หมู่บ้านของราษฎร” เช่นเดียวกับที่เป็นมาเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้วเท่านั้น แตกต่างกันที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่า

  

          3) เกษตรปลอดสารพิษ
              เกษตรปลอดสารพิษ คือการเน้นกิจกรรมการเกษตรที่ไม่ใช้สารพิษเลย แต่ใช้เทคนิคทางชีวภาพในการควบคุมศัตรูพืช เช่น การปลูกพืชหลายชนิด การใช้สารสะกัดจากธรรมชาติปราบศัตรูเช่น สะเดา ตระไคร้หอม โสน กระเทียม ฯลฯ ซึ่งการไม่ใช้สารพิษเลยจะยุ่งยากและได้ผลผลิตน้อยกว่าใช้สารพิษ

เกษตรปลอดสารพิษ ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาอย่างหลากหลาย เช่น “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ที่เน้นหลักการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมีและไม่กำจัดวัชพืช “เกษตรทฤษฎีใหม่” ที่เน้นหลักการพึ่งพาตนเอง การจัดการน้ำในไร่นาอย่างเหมาะสม และปลูกพืชผักเพื่อการบริโภคให้พอเพียงและอื่น ๆ
ดังนั้นหากแต่ละชุมชนมีคนในชุมชนที่เข้มแข็งมีการทำอาชีพเกษตรกรรมโดยยึดหลักการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ ก็สามารถทำให้ชุมชนนั้นสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐาน

                           

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช้เรื่องยากเลย เพียงรู้หลักคิดง่ายไม่กี่ข้อแล้วนำไปปฏิบัติ
ก็เรียกว่าได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ตามแนวทางของพระเจ้าอยู่หัวแล้ว

เริ่มด้วยวิธีง่ายๆดังนี้

                               ให้รู้จักคำว่าคือ                                                                           


ความพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

เช่น..กินไอศกรีม 1 อันก็พอแล้ว
ตุ๊กตา 1 ตัวก็พอแล้ว
หรือรถวิทยุ 1 คันก็พอแล้ว

 

 คำที่สองคือ  


ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำ

เช่น..กินลูกอมมากไป เดี๋ยวฟันผุ
เอาแต่ซื้อของเล่น เดี๋ยวเงินหมด
ไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ เดี๋ยวสอบตก

 

 คำที่สามคือ  


เตรียมพร้อมรับผลกระทบ
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้
ของสถานการณ์ในอนาคต

เช่น..ช่วนนี้ฝนตกบ่อย ต้องเตรียมเสื้อฝนไปรร.
เศรษฐกิจไม่ดี ต้องรู้จักประหยัด อดออม
ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่กำลังระบาด ต้องรู้จักดูแลสุขภาพ


ความรู้ คือรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
คุณธรรม คือซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน แบ่งปัน

“เพียงแค่นี้ก็..พอเพียงแล้ว”

ยินดีต้อนรับสู่ เว็บพอเพียง

มาตรฐาน

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

                                                      

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง

มีหลักพิจารณา ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี